วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ภาคผนวก


ภาคผนวก

 ภาพการเตรียมวัสดุธรรมชาติ







ภาพการผสมส่วนผสมเพื่อทำอิฐบล็อกวัสดุธรรมชาติ












































วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 5


สรุปผลและอภิปรายผลการทดลอง

สรุปผลการทดลอง
เศษวัสดุธรรมชาติสามารถนำมาทำเป็นอิฐบล็อกที่ใช้ในสถานที่ทั่วไปได้โดยประสิทธิภาพความแข็งแรงก็เทียบเท่ากับอิฐบล็อกธรรมดาโดยการทดสอบ

อภิปรายผลการทดลอง
อิฐบล็อกที่ทำมาจากเศษวัสดุธรรมชาติสามารถนำใช้แทนอิฐบล็อกธรรมดาได้อย่างดีเพราะมีความแข็งแรงเทียบเท่ากัน แต่ราคาของอิฐบล็อกที่ทำมาจากเศษวัสดุธรรมชาตินั้นมีราคาต้นทุนในการผลิตต่ำกว่า  โดยราคาบล็อกทั่วไปที่ขายได้อยู่ในราวก้อนละ6 บาท  การลงทุนใน วัตถุดิบ เช่น ดินลูกรัง  ทราย หินฝุ่น ปูนซีเมนต์ ค่าแรงงาน ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปา เป็นต้น  และเมื่อนำมาจำหน่ายราคาก้อนละ 10 บาท  แต่อิฐบล็อกที่ทำมาจากเศษวัสดุธรรมชาติจะลดต้นทุนการจัดซื้อดินลูกรัง  หินฝุ่น  ค่าไฟฟ้า  ค่าปูน (ครึ่งราคา)

ข้อเสนอแนะ
1.             ควรจะมีพิมพ์ต้นแบบที่สวยงามกว่าเดิม
2.             ควรจะใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นให้หลากหลายมากว่านี้
3.             ควรมีการบดให้เศษวัสดุธรรมชาติละเอียดมากกว่านี้


ผลการทดลอง

ตารางที่ 1   แสดงลักษณะของอิฐบล็อกจากเศษวัสดุธรรมชาติ

ส่วนผสมจากเศษวัสดุธรรมชาติ
ลักษณะที่สังเกตได้
ใบไม้
มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน มีสีดำคล้ำและเมื่อนำไปตากแดดก็ไม่มีการแตกร้าวของส่วนผสม
ฟางข้าว
มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน มีสีดำคล้ำและมีเส้นใยของฟางข้าวที่ลอยขึ้นมาอยู่ด้านบนและเมื่อนำไปตากแดดก็ไม่มีการแตกร้าวของส่วนผสม
ต้นข้าวโพด
มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน มีสีดำคล้ำและมีเส้นใยของฟางข้าวที่ลอยขึ้นมาอยู่ด้านบนและเมื่อนำไปตากแดดก็ไม่มีการแตกร้าวของส่วนผสม

ตารางที่ 2   ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของอิฐบล็อกที่ทำมาจากเศษวัสดุธรรมชาติกับอิฐบล็อกที่ใช้ตามสถานที่ต่างๆ

ส่วนผสมจากเศษวัสดุธรรมชาติ
ลักษณะที่สังเกตได้
อิฐบล็อกที่ทำมาจากเศษวัสดุธรรมชาติ
เมื่อทดสอบโดยการยืนบนก้อนอิฐเป็นเวลานาน 10  นาที ผลออกว่าอิฐบล็อกไม่มีการแตกหักหรือชำรุดเลยและเมื่อยืนบนอิฐบล็อกจะรู้สึกนิ่มกว่าที่เราเคยยืนบนอิฐบล็อกทั่วไปแต่จะให้ความรู้สึกไม่เรียบ
อิฐบล็อกที่ใช้ตามสถานที่ต่างๆ

เมื่อทดสอบโดยการยืนบนก้อนอิฐเป็นเวลานาน 10  นาที ผลออกว่าอิฐบล็อกไม่มีการแตกหักหรือชำรุดเลย เมื่อยืนบนอิฐบล็อกจะรู้สึกเรียบ

วิธีดำเนินงาน

ตอนที่ 1 ศึกษาการปั้นอิฐบล็อกที่ทำมาจากเศษวัสดุธรรมชาติ
วัสดุ-อุปกรณ์
1.             เศษวัสดุธรรมชาติ  (ใบไม้,ข้าวโพด,ฟางข้าว)                      100         กรัม
2.             ปูนซีเมนต์                                                                                    500         กรัม
3.             ทราย                                                                                              500         กรัม
4.             เครื่องปั่น                                                                                      1              เครื่อง
5.             ดิน                                                                                                  500         กรัม
6.             เครื่องชั่ง                                                                                       1              เครื่อง
7.             กรรไกร                                                                                         1              อัน
8.             พิมพ์รูปแบบต่างๆ                                                                      1              อัน
9.             ภาชนะที่ใช้ผสม                                                                         1              อัน

วิธีดำเนินการทดลอง
1.             นำเศษวัสดุธรรมชาติที่เก็บได้ที่ต่างๆนำมาชั่งโดยเครื่องอย่างละ  100  กรัม  และใช้กรรไกรตัดเศษวัสดุธรรมชาติให้เป็นชิ้นเล็กๆ
2.             นำเศษวัสดุธรรมชาติที่ได้นำมาใส่ในภาชนะที่ใช้ผสม  จากนั้นผสมปูนซีเมนต์  ดินและทรายลงในถังผสมและเติมน้ำลงในถังแล้วคนให้เข้ากัน
3.             จากนั้นเทส่วนผสมทั้งหมดลงในพิมพ์ที่เตรียมเอาไว้
4.             จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง

ตอนที่ 2  เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของอิฐบล็อกที่ทำมาจากเศษวัสดุธรรมชาติกับอิฐบล็อกที่ใช้ตามสถานที่ต่างๆ
วิธีดำเนินการทดลอง
นำอิฐบล็อกจากเศษวัสดุธรรมชาติที่ได้มานำทดสอบประสิทธิภาพเปรียบเทียบกับอิฐบล็อกที่มีจำหน่ายในที่ต่างๆ  โดยนำมาทดสอบกับน้ำหนักของคนโดยใช้คนเดียวกันโดยยืนบนอิฐบล็อกที่ทำมาจากเศษวัสดุธรรมชาติเป็นเวลานาน  10  นาที และเปลี่ยนมายืนบนอิฐบล็อกที่มีจำหน่ายในตลาด


                วัสดุธรรมชาติ หมายถึง วัสดุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเรานำมาใช้ประโยชน์โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเดิมมากนัก แต่บางครั้งก็มีการเปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิมเพื่อจะเพิ่มคุณค่าทั้งในด้านความงาม ความคงทน สีสัน และการนำไปใช้งาน
                วัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่นสามารถที่จะนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่น ของใช้ ของประดับตกแต่งได้ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้รู้จักนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์และประหยัดด้วย ในปัจจุบันงานผลิตภัณฑ์ประเภทนี้กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งงานประดิษฐ์ในแต่ละภาคหรือท้องถิ่นก็จะมีรูปแบบและลักษณะเด่นที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี และความนิยมของแต่ละท้องถิ่น โดยจะมุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก ต่อมาได้พัฒนามาผลิตเพื่อการจำหน่ายจนกลายเป็นอาชีพมากขึ้น
วัสดุธรรมชาติ เป็น
วัสดุที่ได้มาจากธรรมชาติ มีอยู่มากมายหลายชนิด แต่ละชนิดสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งวัสดุธรรมชาติที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวัน ได้ แก่
1. ไม้ เช่น ไม่ไผ่ ไม่ฉำฉา หวาย
2. หนังสัตว์ เช่น หนังวัว หนังกระบือ หนังจระเข้ และหนังสัตว์ชนิดอื่น ๆ
3. ผ้า เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม และผ้าที่ทอจากใยธรรมชาติชนิดอื่น ๆ เป็นต้น
4. ดิน ทราย และวัสดุชนิดอื่น ๆ ที่ปั้นด้วยดิน แล้วหลอมด้วยทรายจึงกลายเป็นแก้ว
5. ผักตบชวา กก กระดาษ และวัสดุที่ใช้ถักทอ หรือจักสานชนิดอื่น

ใบไม้ 
ลักษณะของใบพืชดอกที่สมบูรณ์นั้นประกอบไปด้วย ก้านใบ, แผ่นใบ, และ หูใบ ก้านใบนั้นจะเป็นส่วนต่อมาจากลำต้นใบบริเวณที่เรียกว่า "ง่ามกิ่งหรือซอกใบ" แต่ก็ใช่ว่าพืชทุกชนิดจะมีใบตามลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น ในพืชบางชนิดคู่หูใบจะไม่ปรากฏเด่นชัดหรือไม่มีเลย ก้านใบอาจไม่มีหรือแผ่นใบอาจไม่เป็นแผ่นแบน ความหลากหลายที่มีมากมายนี้ถูกแสดงในกายวิภาคของใบจากชนิดหนึ่งถึงอีกชนิดหนึ่งที่ถูกเสนอในรายละเอียดภายใต้รูปร่างลักษณะของใบ

ใบนั้นถือว่าเป็นอวัยวะหนึ่งซึ่งทั่วไปประกอบไปด้วย:
1.             เนื้อเยื่อชั้นผิว ที่จะปกคลุมผิวด้านบน  และด้านล่าง
2.             พาเรงคิมา ภายในที่เรียกว่ามีโซฟิลล์ :แพลิเซด มีโซฟิลล์:สปองจี มีโซฟิลล์)
3.             ข้อของเส้นใบ :ท่อลำเลียง) :ไซเล็ม) :โฟลเอ็ม)
4.             ปากใบ
5.             เซลล์คุม
6.             ผิวเคลือบคิวทิน ที่ปกคลุมเนื้อเยื่อชั้นผิวอีก

ประเภทของใบไม้
ใบเดี่ยว (simple leaf) หมายถึงใบที่มีเพียงใบเดียวติดกับก้านที่แตกออกจากกิ่งหรือลำต้น เช่น มะม่วง กล้วย แต่ยังมีใบเดี่ยวบางชนิดที่ขอบใบเว้าเข้าไปมากทำให้ดูคล้ายใบประกอบ เช่น มะละกอ มันสำปะหลัง
ใบประกอบ (compound leaves) หมายถึงใบที่มีใบย่อยตั้งแต่ 2 ใบอยู่ติดกับก้านใบ 1 ก้าน แต่ละใบของใบประกอบ เรียก ใบย่อย (leaflet หรือ pina) ก้านใบย่อย เรียก เพทิโอลูล (petiolule หรือ petiolet) ส่วนก้านใบใหญ่ที่อยู่ระหว่างช่วงก้านใบย่อย เรียก ราคิส (rachis)  

ข้าวโพด
ข้าวโพด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซีเมส์ (Zea mays) เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้ามีลำต้นสูง โดยเฉลี่ย 2.2 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.5-2.0 นิ้ว ถิ่นกำเนิดก็คือ ได้มีการขุดพบซังข้าวโพดและซากของต้นข้าวโพดที่ใกล้แม่น้ำในนิวเม็กซิโก (แถบอเมริกาใต้) และปัจจุบันนิยมปลูกแพร่หลายในแถบอเมริกา แคนาดา ฯลฯ สามารถปลูกได้ในสภาพที่ภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ๆ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ เพราะสามารถนำมาเลี้ยงสัตว์ได้ทั้งต้น ใบ และเมล็ด

ฟางข้าว
ฟางข้าว เป็นอินทรีย์วัตถุที่มีประโยชน์สูงควรเก็บไว้ในนาข้าว โดยเฉพาะนาเขตชลประทาน ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ทำนา 2-3 ครั้งต่อปี เท่าที่ผ่านมาฟางข้าวมักจะถูกนำออกจากนาหรือเผาทิ้ง โดยไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุกลับคืนให้กับดินนา ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพขาดความสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะมีการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินโดยการใส่ปุ๋ยเคมีทดแทนก็ตาม ผลกระทบต่อดินนา คือ ปุ๋ยเคมีจะไปช่วยเร่งให้จุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรียวัตถุให้หมดไปโดยเร็ว สภาพดังกล่าวอาจทำให้ดินนาเสื่อมสภาพทางฟิสิกส์ ทำให้ดินแข็งตัวมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าดินจะมีสภาพเป็นกรดมากขึ้นด้วย ดังนั้นฟางข้าวจึงเป็นอินทรียวัตถุที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรกรไม่ควรนำออกจากแปลงนาหรือไม่ควรเผาทิ้ง





อิฐ (brick)
อิฐ (brick) เป็นวัสดุก่อสร้างที่ทำจากทรายและดินเหนียว หรือทรายและหินแข็งคุณสมบัติทางฟิสิกส์ขึ้นอยู่กับสัดส่วนและชนิดของวัสดุต่างๆ ที่ใช้ วิธีที่ใช้และการผลิต เวลาและอุณหภูมิในการเผา เมื่ออุณหภูมิในการเผาเพิ่มขึ้น อิฐจะมีสีคล้ำ ความพรุนจะลดลง และความแข็งแรงของอิฐจะเพิ่มขึ้น อิฐที่ใช้ในงานก่อสร้างมีหลายชนิดได้แก่
1. อิฐมอญหรืออิฐดินเผา คืออิฐที่ทำจากดินเหนียวผสมกับแกลบหรือวัสดุอื่นผสมน้ำ นวดเคล้าให้เข้าเนื้อเดียวกันแล้วใส่เข้าแม่พิมพ์ โดยโรยเถ้าแกลบบนลานดินภายในแม่พิมพ์ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ดินผสมติดกับแม่พิมพ์ ปาดให้เรียบ ตัดทำเป็นแผ่น ผึ่งให้แห้งหรือพอหมาด แล้วเอาเข้าเตาเผาจนสุก มีขนาดกว้าง 9.5 เซนติเมตร ยาว 20.00 เซนติเมตร และหนา 5.0 เซนติเมตร
2. อิฐขาว ทำจากปูนขาวและทรายผสมกัน อัดด้วยเครื่องจักรที่มีความกดดันสูง 500 ตัน แล้วอบด้วยความร้อนสูงอิฐขาวเป็นอิฐที่ใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ พัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนอิฐมอญและอิฐบล็อก เหมาะสำหรับงานก่อสร้างทุกชนิด เป็นอิฐที่แพร่หลายมานานกว่า 100 ปีในยุโรปและอเมริกาอิฐขาวเป็นอิฐที่มีความแข็งแรงคงทนถาวรกว่าอิฐมอญหรืออิฐอบล็อกโดยทั่วไป ไม่ต้องฉาบปูน เนื้ออิฐมีความหนาแน่นมาก น้ำจึงไม่สามารถซึมผ่าน ไม่อมความชื้น ป้องกันความร้อนได้ดี มีน้ำหนักเบา ประหยัดโครงสร้าง ผนังอิฐขาวสามารถกันไฟไม่ให้ลุกลามต่อไปได้ มีความสวยงามตามธรรมชาติโดยไม่ต้องทาสีทับ
3. อิฐประดับ เป็นการผลิตด้วยหินเกร็ด กรวด ทรายซิลิก้าสีต่าง ๆ ซีเมนต์และสารเคมีหลายชนิดผสมกันแล้วอัดด้วยเครื่องอัดแรง มีคุณสมบัติแข็งแกร่ง ไม่แตกง่ายเป็นฉนวนกันความร้อนและเก็บเสียงได้ดี
4. อิฐบล็อกและคอนกรีตบล็อก อิฐบล็อกทำจากส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์กับทราย ซึ่งเป็นอิฐที่มีความนิยมใช้ในงานก่อสร้างเช่นเดียวกับอิฐมอญ 

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ
                ปัจจุบันปัญหาภาวะโลกร้อนกำลังเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกคนต้องช่วยร่วมมือหาแนวทางแก้ไข  แต่เนื่องด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ความต้องการใช้ความต้องการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามจำนวนประชากรของโลกที่เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ มีการตัดไม้ทำลายป่ามากขึ้น ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ด้วยความห่วงใยต่อสภาพแวดล้อมดังกล่าวกลุ่มพวกเราจึงคิดที่จะนำเศษวัสดุธรรมชาติที่ถูกมองข้ามประโยชน์ไปเช่น ใบไม้            เศษฟางข้าวและต้นข้าวโพดที่เหลือทิ้งจากการทำการเกษตรของประชาชนเนื่อง  จากเศษวัสดุธรรมชาติเหล่านี้ที่มักจะถูกทิ้งลงถังขยะ ทางคณะผู้จัดทำจึงเห็นว่าเศษวัสดุธรรมชาติเหล่านี้น่าจะสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 
ทางคณะผู้จัดทำเห็นว่าอิฐบล็อกที่ใช้ปูพื้นทางเดินในที่ต่างๆเป็นส่วนผสมของปูนซีเมนต์เป็นหลัก  เมื่อเกิดการแตกหักหรือเสียหายไปก็ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกโดยทิ้งไปเปล่าๆ ทางคณะผู้จัดทำจึงคิดที่จะนำเศษวัสดุธรรมชาติที่มาเป็นส่วนประกอบหลักของอิฐบล็อกเพราะเมื่อถึงเวลาที่เกิดการชำรุดหรือแตกหักไปมันก็จะสามารถย่อยสลายไปได้เองตามธรรมชาติโดยศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของอิฐบล็อกที่ทำมาจากเศษวัสดุธรรมชาติกับอิฐบล็อกที่ใช้ตามสถานที่ต่างๆ

วัตถุประสงค์
1.             เพื่อทำอิฐบล็อกจากเศษวัสดุธรรมชาติที่ได้จากธรรมชาติ
2.             เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของอิฐบล็อกที่ทำมาจากเศษวัสดุธรรมชาติกับอิฐบล็อกที่ใช้ตามสถานที่ต่างๆ

สมมติฐาน
เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของอิฐบล็อกที่ทำมาจากเศษวัสดุธรรมชาติกับอิฐบล็อกที่ใช้ตามสถานที่ต่างๆ

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.             นำเศษวัสดุธรรมชาติที่เหลือทิ้งมาทำให้เกิดประโยชน์
2.             ได้อิฐบล็อกที่ทำมาจากเศษวัสดุธรรมชาติ
3.             เป็นแนวทางในการเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว